6. การใส่เสียงประกอบให้งานวีดีโอ (Audio)

การใส่เสียงประกอบให้งานวีดีโอ (Audio)



    การตัดต่อวีดีโอที่สมบูรณ์คงขาดเสียงประกอบไม่ได้ เสียงประกอบเป็นตัวสำคัญ ส่วนมาเสียงจะมาพร้อมกับคลิปวีดีโอ หากเราตองการเสียงที่มีคุณภาพดีขึ้นจะต้องปรับแต่งกันใหม่หรือจะนำเสียงจากแหล่งอื่นๆ เขามาใช้งาน หรือจะนำเสียงจากแหล่งอื่นๆ เข้ามาใช้งาน ดังนั้นเราต้องมาทำความรู้จักกับวิธีจัดการเก็บเสียง เพื่อให้ได้วีดีโอที่สมบูรณ์
    1.เพิ่มไฟล์เสียงใหม่เข้ามาใช้ใน Library
    ไฟล์เสียงดนตรีในโปรแกรม VideoStudio Editor มีอยู่แล้วจำนวนหนึ่ง ถ้าหากต้องการเพิ่มไฟล์เสียงที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามา ก็สามารถทำได้โดยการดึงเข้ามาเก็บไว้ในส่วนของ Library ก่อน
  •     เพิ่มไฟล์เสียงใหม่เข้ามาใช้ใน Library
นำเสียงจากข้างนอกเข้าไปใช้ในโปรแกรม VideoStudio Editor แล้วนำไปเก็บไว้ใน Library  ก่อนนำไปใช้งาน 



  •     นำเสียงใหม่เข้ามาใช้งานใน Library
        เรียกใช้ไฟล์เสียงจาก Audio Gallery นำมาวางใน Timeline ตรงตำแหน่ง Voice Track หรือ Music Track


    2.เพิ่มไฟล์เสียงเข้ามาใช้งานจาก Audio CD
    แผ่นซีดีเพลงออดิโอที่ใช้เปิดในรถยนต์หรือใช้เปิดในเครื่องเล่นที่บ้าน  การที่เราจะดึงไฟล์เพลงออดิโอออกมาใช้งานนั้นเป็นเรื่องยาก แต่ในโปรแกรม VideoStudio Editor สามารถทำได้โดยการอัดเสียงจากออดิโอเข้ามาในรูปแบบ wav
  •     เพิ่มไฟล์เสียงเข้ามาจาก Audio CD
        นำไฟล์เสียงเพลงจากแผ่นเพลง Audio CD ที่มีนามสกุล .CDA แปลงไฟล์เข้ามาใช้งานในรูปแบบสกุล .wav



    3.อัดเสียงลงในโปรแกรมจากไมโครโฟน
    บางครั้งการตัดต่อวีดีโอก็ต้องการเสียงบรรยายสดๆ ลงไปเสริมในงานตัดต่อ เพื่อให้งานตัดต่อวีดีโอมีสีสันเพิ่มขึ้น จะประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอน เริ่มจากเตรียมไมโครโฟนอัดเสียงแล้วเซตไมโครโฟนก่อนอัดเสียง สุดท้ายก็เริ่มอัดเสียงกัน
  •     เตรียมไมโครโฟนอัดเสียง

  •     ติดตั้งไมโครโฟนเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์
    สีชมพู                    เป็นช่องเสียบไมโครโฟน
    สีเขียว                    เป็นช่องเสียบลำโพงหรือหูฟัง
    สีฟ้า                       เป็นช่องนำสัญญาณเสียงเข้ามาใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์                                                  เช่น เสียงจากกล้องวีดีโอ
    4.เทคนิคการปรับเสียง
    เสียงวีดีโอที่ได้มาอาจเป็นเสียงที่ดีในระดับหนึ่ง  แต่เราสามารถที่จะปรับแต่งเสียงเพิ่มเติมได้ เช่น การตัดเสียงบางส่วนที่ไม่ต้องการ การกำหนดเสียงบางส่วนให้ค่อยๆ เบาลง หรือค่อยๆ ดังขึ้น และการลดเสียง เพิ่มเสียง เป็นต้น
            1)ตัดต่อเสียงที่ไม่ต้องการ
        คลิปเสียงที่ติดมากับคลิปวีดีโอ บางช่วงเราอาจไม่ต้องการเสียงพูด เพราะต้องการใส่สียงเพลงหรือเสียงเพลงประกอบ ดังนั้น เราจึงต้องมาตัดเสียงส่วนที่ไม่ต้องการออก


            2)ตัดเสียงพูดออกจากคลิปวีดีโอ (Mute)
        ให้แบ่งเสียงออกเป็น 2 ส่วนก่อน ซึ่งเสียงส่วนแรกที่แบ่งออกจะเป็นเสียงที่ไม่ต้องการแต่จะนำมาใส่เสียงแบ็คกราวน์หรือเสียงบรรยายแทน 
            3)กำหนด Fade – in/Fade – out
        Fade – in  คือ การกำหนดให้เสียงค่อยๆ ดังขึ้นในตอนเริ่มต้นที่ละน้อยจนถึงระดับความดังที่ต้องการ เพื่อให้เกิดความนุ่มนวลของเสียงประกอบ เช่น Fade – out คือ การกำหนดให้เสียงในตอนท้ายค่อยๆ เบาลงจนเงียบไป ซึ่งมีการกำหนดไว้ดังนี้

            4)ปรับระดับเสียงด้วย Volume Control
        การปรับระดับเสียงด้วย Volume Control คือ การปรับระดับเสียงของคลิปเสียงทั้งคลิปพร้อมๆ กัน ตั้งแต่ต้นจนจบคลิปเสียง


            5)ปรับรับเสียงเป็นช่วงๆ ด้วย Audio View
        การปรับระดับเสียงบนเส้น  Volume rubber banding คือ การปรับระดับเสียงบนเส้นสีแดงคาดกลางเส้นเสียงที่อยู่ในแต่ละคลิปเสียง ซึ่งจะสามารถปรับระดับเสียงได้เฉพาะในโหมด Audio View เท่านั้น การปรับระดับเสียงในเส้น Volume rubber banding จะทำให้เสียงช่วงที่ต้องการเบาลงหรือดังขึ้นเป็นช่วงๆ ได้ตามความต้องการ



    5.การใช้งาน Audio Mixing Panel
    Audio Mixing Panel  เป็นเหมือนเครื่อง Mix เสียงที่สามมารถปรับแต่งเสียงได้พร้อมๆ กัน ทุก Track  เป็นการปรับระดับเสียง Audio View สามารถปรับเสียงพร้อมๆ กันทั้ง 4 Track หรือจะเลือกปรับเฉพาะ Track ที่ต้องการก็ได้ เช่น  ปรับระดับเสียงให้ดังขึ้นเฉพาะ Video Track ก็ให้ปิดการทำงาน  Overlay Track, Voice Track  และ  Music Track  เป็นต้น

  •     การใช้งาน  Audio Mixing Panel
        ให้เลือกปรับระดับเสียงเฉพาะ Track ที่ต้องการ ถ้าไม่ต้องการปรับระดับเสียง Track ไหนก็ให้ปิด  Track  นั้นได้ เมื่อปรับเสร็จก็ให้เปิดทุก  Track  



    6.การใช้งาน  Audio Filter
    เป็นการแต่งเสียงโดยการใส่ Filter  จะสามารถปรับลักษณะของเสียงให้มีลูกเล่นเพิ่มขึ้น เช่น การลบเสียงลบกวนในเสียงหรือการปรับแต่งเสียงให้เหมือนอยู่ในโรงยิม เป็นต้น จะสามารถใช้กับเสียงบรรยายหรือเสียงดนตรีที่อยู่ใน  Voice Track  และ  Music Track เท่านั้น
  •     การใช้งาน Audio Filter
    เลือกเสียงที่นำมาใส่  Filter แล้วเลือก Filter  ที่ต้องการนำมาใส่ให้คลิปเสียง







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น